วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ไหว้พระพุทธรูปวังหน้า พระปฎิมาแห่งแผ่นดิน



1.พระพุทธสิหิงค์ พระปฎิมาแบบสุโขทัย-ล้านนา อายุราวพุทธสตวรรษที่ 21 นับถือเป็นพระพุทธปฎิมาศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษบานเป็นสิริยังพระนครหลวงโบราณของไทยทุกแห่ง นับแต่กรุงสุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จิงสถิตเป็นมงคลแก่พระนครประจำ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานครได้อัญเชิญออกให้ประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์และสวัสดิมงคลแก้บ้านเมือง



2.พระหายโศก พระปฎิมาศิลปะล้านนา พุทธศรรตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรุปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่ามาถึงกรุงเทพฯในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธี ส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์สถานเมื่อ พ.ศ. 2474 เชื่อกันเป็นพระพุทธรูปอำนวยความสุข สวัสดี



3.พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17-18 แสดงปางสมาธินาคปรก ทรงเครื่อง มีผอบบรรจุพระโอสถอยูในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฎิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นับถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ผู้ช่วยสัตว์โลกทั้งปวงพ้นทุกข์อันเกิดจากโรคทางกายและโรคทางใจตลอดช่วยให้มีชีวิตยืนยาว เนื่องจากทรงบำเพ็ยบารมีโดยอธิฐานความปราศจาคโรคภัยของผู้คนในกาลสมัยของพระองค์ เชื่อกันว่าผู้ปฎิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุ สามารถหายจากอาการเจ็บป่วยทางกายและใจ ด้วยการสวดบูชาออกพระนาม และสัมผัสรูปพระปฎิมา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฎิมาประทานในอโรคยาศาล เพื่อผู้ป่วยและประชาชนบูชา เพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ



4.พระชัยเมืองนครราชสสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที 19-20 เดิมพระชัยสร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม เพื่อความมีชัยชนะต่ออริราชศัตรู ต่อมาอัญเชิญไปในการพิธีด้วย เรียกว่าพระชัยพิธี เพื่อให้การพิธีสัมฤทะผล ปราศจากการเบียดเบียนบีฑาจากสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลต่างๆ พระชัยเมืองนครราชสีมา แสดงปางมารวิชัย คือครั้งพระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือพระยารามาธิราช พระองค์เบื้องหน้า เบื้องพระปฤษฎางค์(หลัง) พระลาฏ(หน้าผาก) พระศอ(คอ) พระอังสา(ไหล่) และพระกรทั้งสอง อารึกอักะขอม ภาษาบาลี อายุอักษรราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 เป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่างๆเช่น หัวใจพระคาถาพระเจ้าห้าพระองค์(นะ โม พุท ธา ยะ) หมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมนาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย



5.พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ศิลปะอยุทธยา พุทธศตวรรษที่ 22-23 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี โดยทรงบันดาลพระเวฬุวันวิหารประดุจเมืองสวรรค์ และเนรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช แสดงบุญญานุภาพเหนือพระย่มหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะ ขอบวชเป็นพระสาวกพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึงอำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปดังกล่าวนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ พระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนับถือเป็นหน่อพุทธางกูร



6-7 พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์แดงทั้งคู่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามตำนานพระแก่นจันทร์ มีเนื้อความว่าด้วย สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอนุสรณ์ถึงพระพุทธองค์จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทร์จึงเป็นรูปแทนเสมือนพระพุทธเจ้า เพราะสร้างในขณะพระพุทธเจ้ายังชนม์อยู่ พระเจ้าแผ่นดินและผู้มีอำนาจวาสนาจึงมักสร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทร์หอม พระไม้แก่นจันทร์แดงทั้งคู้นี้แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันอันตรายทั้งปวง



8.พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากเป็นพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชร เจ้าเมืองพะเยาสรางเมื่อ พ.ศ.2019 เดิมคนร้ายขุดค้นพบในเจดีย์โบราณที่วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค จังหวัดพะเยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมได้พร้อมของกลางที่จังหวักลำปาง ต่อมาหลสงอดุลยธารปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ..2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร พระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม



9. พระพุทธรัตนมหามุนี พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศรตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณี แก้วสีเขียวอ่อน น้ำแตงกวา พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง ทรงเครื่องทองอัญมณี เดิมพบแตกเป็น 2 ส่วน เจ้าของเดิมได้มาคนละคราว นำมาต่อเป็นเนื้อเดียวกันได้เป็นอัศจรรย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัว พระราชทานแก่ พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2534

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น